วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วิธีเติมหมึก Laser HP Laserjet

วิธีเติมหมึก Laser HP Laserjet

 

วิธีเติมหมึก Laser HP Laserjet
วิธีการเติมหมึกคือ
1.  ถอดน็อตด้านข้าง ด้านที่มี chip ประมาณ 2 ตัวครับ
2.  หลังจากนั้นจะเห็นจุกสีขาวปิดช่องเติมหมึกอยู่ให้เอาจุกสีขาวออก
3.  เทหมึกของเก่าออกให้หมด แล้วเติมผงหมึกใหม่ลงไป
4.  เปลี่ยน chip ใหม่แล้วปิดฝาขันน็อตเป็นอันเสร็จเรียบร้อย
ถ้าจะให้ดีควรทำความสะอาดห้องเก็บหมึกเสียด้วยอยู่ด้านบนชุดดรัมขันน็อต 2 ตัวเหมือนกันครับ ลองดูนะ
เติมหมึกและรีเซ็ท Brother TN-210/150
Brother HL-3040/4040 HL-4040CN/ HL-4050CN/ DCP-9040CN/ MFC-9440CN/ MFC-9840CDW/ DCP- 9042CDN/ MFC-9450CDN/HL-3040CN / HL-3070CW / MFC-9010CN / MFC-9120CN / MFC-9320CN
1.ตลับหมึกสองรุ่นนี้ทั้ง  TN-210 และ 150 สามารถเปิดจุกเติมได้ โดยต้องเอาผงหมึกเก่าออกให้หมดก่อนเติมเพื่อให้ผงหมึกไม่ปนกัน
2. ขั้นตอนการรีเซ็ท (สำหรับตลับที่มีเฟืองรีเซ็ท) สามารถรีเซ็ทได้โดยปรับเลื่อนเฟืองที่ตลับหมึก
 
3.  ถอดฝาด้านข้างตลับหมึกออก จะเห็น Flag gear ที่มีสปริงติดอยู่
4. ปรับเลื่อนเฟืองและสปริงให้อยู่ตำแหน่งดังภาพ
***หากตลับที่ไม่มีเฟือง สามารถรีเซ็ทได้ที่ตัวเครื่องโดยทำขั้นตอน ดังนี้
1. เปิดฝาเครื่องด้านหน้าออก (เครื่องจะขึ้นว่า Cover open )
2. กดปุ่ม Cancel ค้างไว้
3. กดปุ่ม Reprint - จะมีข้อความขึ้นว่า Reset part life
4. ขั้นตอนต่อไปเลือกตลับ(สี) ที่จะรีเซ็ท
    B.TNR-S  รีเซ็ทตลับสีดำ   ให้กดเครื่องหมาย  ^
       C.TNR-S  รีเซ็ทตลับสีฟ้า   ให้กดเครื่องหมาย  ^
    M.TNR-S  รีเซ็ทตลับแดง   ให้กดเครื่องหมาย  ^
    Y.TNR-S  รีเซ็ทตลับเหลือง   ให้กดเครื่องหมาย  ^
5. กดปุ่ม Cancel เพื่อออกจากเมนู
6. ปิดฝาหน้าเครื่อง

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การแก้ปัญหาเกี่ยวกับไดรเวอร์


 การแก้ปัญหาเกี่ยวกับไดรเวอร์
การแก้ปัญหาเกี่ยวกับไดรเวอร์


          ไดรเวอร์คือ โปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานงานระหว่างฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการหรืออธิบายง่ายๆ ก็คือคอยทำหน้าที่แนะนำให้ระบบปฏิบัติการรู้จักและทำงาน ร่วมกับฮาร์ดแวร์ได้นั่นเอง ดังนั้นหากอุปกรณ์ตัวไหนที่ไม่ได้ลงไดรเวอร์ ก็อาจทำให้ระบบปฏิบัติการไม่รู้จัก จึงไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ ดูแล้วไดรเวอร์ แต่เนื่องจากว่า บางครั้งไดรเวอร์ที่เป็นเวอร์ชั่นใหม่ไม่สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ตัวเก่าได้ มีผู้ใช้หลายคนยกเครื่องมาให้ ช่างคอมพิวเตอร์ตรวจเช็คเนื่องจากปัญหาเครื่องแฮงค์บ่อยพอสอบถามถึงปัญหาก็พบว่าผู้ใช้ได้เคยอัพเดท ไดรเวอร์รุ่นใหม่ที่ดาวน์โหลดมาจากเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ต

          ดังนั้นเมื่อตรวจเช็คแล้วก็พบว่าไดรเวอร์ที่ผู้ใช้ อัพเดทนั้นเป็นไดรเวอร์รุ่นทดสอบที่หลายเว็บไซต์มักชอบนำมาให้ดาวน์โหลดไปทดสอบกันดูก่อน เมื่อไดรเวอร์ยังไม่สมบูรณ์ จึงยังไม่สามารถทำงานเข้ากับฮาร์ดแวร์ บางตัวได้จึงทำให้เกิดปัญหาเครื่องแฮงค์ นั่นเอง ซึ่งปัญหานี้พบได้บ่อยมาก

          สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาของช่างคอมพิวเตอร์ก็คือ ให้สอบถามพฤติกรรมการใช้งานของ ผู้ใช้ก่อน หากพบเครื่องที่มีอาการแฮงค์หลังจากที่ผู้ใช้อัพเดทไดรเวอร์ลงไปให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าเกิดจากสาเหตุนี้ วิธีแก้ปัญหาก็คือให้จัดการถอดไดรเวอร์ที่มีปัญหานั้นทิ้งไป แล้วลงไดรเวอร์ตัวเก่าที่เคยใช้งานได้ดีกลับไปเหมือนเดิม โดยมีขั้นตอนดังนี้

แนวทางแก้ปัญหาที่ 1.  Remove หรือ uninstall


1. ให้คลิกขวาที่ไอคอน My Computer > Properties
2. ที่หน้าต่าง System properties ให้คลิกแท็ป Device Driver
3. จากนั้นคลิกขวาที่ไดรเวอร์ของอุปกรณ์ที่มีปัญหา แล้วเลือกคำสั่ง Remove หรือ
 uninstall ไดรเวอร์นั้นออกไปแล้วลงไดรเวอร์ตัวเก่าที่เคยใช้งานได้ดีกลับไปเหมือนเดิม
ปัญหา uninstall ที่ device manager ก็คือ ไดร์เวอร์มันลงไปที่ตัวเครื่องแล้ว ถึงจะไป Uninstall ไปแล้ว แค่ว่า ให้ไปยกเลิกการใช้ไดร์เวอร์ตัวนั้นเท่านั้นเอง ถ้าไปกด Update Driver หรือไป Scan ใหม่ มันก้อกลับมาเหมือนเดิมอีก เว้นแต่ว่าจะไปตามหาและลบมันออกจากเครื่องไปเลย (แนวทางแก้ปัญหาที่4.)



แนวทางแก้ปัญหาที่ 2. ใช้ System Restore


1. คลิกปุ่ม Start > Program > Accessories > System Tools > System Restore
2. เมื่อปรากฏโปรแกรม System Restore ขึ้นมาให้คลิกที่ช่อง Restore my computer to earlier time แล้วคลิกปุ่ม Next
3. เลือกวันที่และจุด Checkpoint ที่คิดว่ายังไม่เกิดปัญหา โดยวันที่ที่สามารถย้อนกลับไปได้จะเป็นช่องหนาๆ เมื่อเลือกเสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม Next
4. จะมีหน้าต่างแสดงรายละเอียดของวันที่และจุด Checkpoint ที่ต้องการย้อนระบบกลับไป ให้เราคลิกปุ่ม Next แล้วโปรแกรมก็จะเริ่มทำการย้อนระบบกลับไปยังวันที่และจุด Checkpoint ที่เรากำหนด

แนวทางแก้ปัญหาที่ 3. กลับไปใช้driverตัวเก่า

 คลิกขวาที่ My Computer > properties > hardware > device manager - ค้นหาไดรเวอร์ที่มีปัญหา จะเห็นเป็นกากบาทสีแดง ให้ดับเบิ้ลคลิก
ที่แถบ driver คลิก roll back driver
กด ok



แนวทางแก้ปัญหาที่ 4. ถอดถอนแบบหมดจดด้วยโปรแกรม Your Uninstaller 2009ลงไดรเวอร์ใหม่


ตามปรกติแล้วเวลาที่คุณทำการลบ(Uninstall) โปรแกรมใดๆ ในวินโดว์นั้นโดยวิธีการใช้ Add or remove program ที่มีติดมากับวินโดว์ จะยังคงมีไฟล์บางอย่างที่ไม่ได้ใช้งาน และไม่ได้ถูกลบออกไป(อย่างเช่น Registry Key ) ซึ่งจะกินทรัพยากรเครื่อง และทำให้คอมพิวเตอร์ของท่าน โหลดช้าลง และเสียพื้นที่ใน Hard Disk โดยใช่เหตุ ได้ครับ

ขอแนะนำโปรแกรม Your Uninstaller (โปรแกรม สำหรับ Uninstall โปรแกรมต่างๆ แบบหมดจด!) โปรแกรมนี้ จะทำการ ลบ โปรแกรมนั้นๆ ให้หายวับไปจากเครื่อง
คอมพิวเตอร์ของคุณ รวมทั้งกำจัด ไฟล์ต่างๆที่ไม่จำเป็นออกไปอย่างหมดจด ช่วยให้ประหยัดพื้นที่ Hard Disk และคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้น

          ส่วนการใช้งาน ก็ไม่ยากเลยครับ เพียงแค่คุณ เปิดโปรแกรม Your Uninstaller 2009
ขึ้นมา จากนั้นเลือกโปรแกรม ที่เราต้องการจะลบ คลิกปุ่ม Uninstall และคลิก next ไปตาม
ขั้นตอน เพียงเท่านี้ โปรแกรมที่ ท่านไม่ต้องการก็ จะไม่มาปรากฏให้กวนใจอีกเลยครับ ...

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ลงยังไงเสถียรปลอดภัยจากพวกโทรจัน


โปรแกรมคอมพิวเตอร์ลงยังไงเสถียรปลอดภัยจากพวกโทรจัน
ลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ลงยังไงเสถียรปลอดภัยจากพวกโทรจัน
ในการที่เราจะลงวินโดว์ และโปแกรมต่างๆนั้นเราควรมีการเตรียมพร้อมดังนี้ครับ

1. เตรียมแผ่นวินโดว์สให้เหมาะกับเครื่องเราให้มากที่สุด ความสวยงามค่อยมาทีหลังครับ(หลายๆท่านคงมีแผ่นวินโดวส์ที่โดนใจกันแล้วนะครับ)


2.  เตรียมไดรเวอร์ของอุปกรณ์ต่างๆให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็น เมนบอร์ด การ์ดจอ ปริ๊นเตอร์ ฯลฯ เป็นไปได้ควรอัปเดทให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด



3.  เตรียมแอปพลิเคชั่นต่างๆให้พร้อมสำหรับการติดตั้ง หากโปแกรมที่ท่านต้องการนั้นมีการใช้งาน Keygen หรือ Crack ไฟล์เหล่านี้มักถูกบีบอัดไว้ ก่อนทำการแตกไฟล์แนะนำว่าควรอัปเดท Scanvirus ให้เรียบร้อย และควรเป็น Scanvirus ที่ไว้ใจได้ (เดี๋ยวแนะนำ) จากนั้นทำตามดังนี้
     3.1 แตกไฟล์ Crack , Keygen , Patch ของโปรแกรมเหล่านั้น กว่า 80% ของโปรแกรมที่โหลดมาจากเว็บต่างประเทศโดยตรงมีไวรัสประเภทโทรจัน และไวรัสชั้นต่ำที่ทำให้คอมเราอืดครับ ถ้าแตกไฟล์แล้ว โปแกรมไม่ฟ้องว่าเป็นไวรัสก็ปลอดภัยในระดับหนึ่งครับ
     3.2 ถ้าเป็นKeygen ที่ไม่ต้องอ้างอิงรหัสเครื่อง(พวกตรวจสอบโน่นนี่) แนะนำว่าGen key ออกมาแล้วเก็บเป็น notpad ดีกว่าครับ ถ้าอ้างอิงเครื่องก็บีบเก็บไว้ครับ
     3.3 ถ้าเป็น Crack , Patch ต่างๆถ้าเป็นไวรัส ลองหาดูใหม่ครับ ถ้าไปเป็นบีบเก็บไว้ครับ
     3.4 ควรโหลดตัวอัพเดทScanvirus ไว้ด้วยครับ
     3.5 แอปพลิเคชั่นเหล่านั้น ควรไร์ทลงแผ่นไว้ครับ
4.  เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม เช่น DVD Rw  CD Rw ต้องอ่านแผ่นได้อย่างสมบูรณ์  เช็ค Ram ,Harddisk อุปกรณ์อื่นๆให้พร้อมใช้งาน 

5.  สำรองงานไว้ให้ดีครับ เช่น เก็บไว้ไดร์ฟ หรือไดร์ฟอื่นๆ เก็บบุ๊คมาค IE ,Firfox
6. เริ่มทำการลงวินโดว์สครับ โดยมีคำแนะนำดังนี้ครับ
     6.1 เมื่อถึงตอนเลือกไดร์ฟ ให้ทำการลบพาร์ทิชั่นนั้นไปเลย แล้วสร้างใหม่  เหตุผลที่ผมให้ลบออกก็เพราะว่า ไม่อยากให้ลงทับ ถ้าลบท่านจะได้ระบบที่สะอาดกว่าครับ
     6.2 พอลงเสร็จห้ามเปิดไดร์ฟอื่นๆ ลงไดร์เวอร์อุปกรณ์ต่างๆก่อนโดยเริ่มจากเมนบอร์ดครับ แล้วก็ การ์ดจอ ปริ๊นเตอร์
     6.3  พอลงไดร์เวอร์เสร็จลงScanvirus ก่อนเลยนะ อัพเดทด้วยครับ
     6.4 จากนั้นลงแอปพลิเคชั้นต่างๆก่อนโดยเริ่มจาก กราฟฟิก-มัลติมีเดีย-แล้วโปรแกรมเสริมอื่นครับ
7. เสร็จละครับ ได้ระบบที่สมบูรณ์แล้ว   scanvirus ไดร์ฟอื่นๆด้วยครับ
การพิจารณาซอฟแวร์
1. ไม่จำเป็นต้องเป็น V. ล่าสุด แต่ขอให้เสถียรก็พอ 
2. เลือกที่เหมาะกับเครื่องของเราที่สุดครับ  แนะนำ scan virus ครับ
    เครื่องกลางๆ-แรงหน่อยก็ Avira_antivir_premiu หรือ Kaspersky7


แนะนำแอปพลิเคชั่นที่ควรมีติดเครื่องไว้



Office 2003                        Acd see
Foxit reader                       kmplayer
k-lite megacode pack                   msn 8.5+plus
Idm                                 winrar
Ie7                                  java                                

flash player                       firfox                               

CloneCD                           Error Repair Professional     

Your.Uninstaller                  CyberLink.PowerDVD         

Winamp                           CCleaner                          

UltraISO                           Auslogics Disk Defrag



วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

งานบริการคอมพิวเตอร์


ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
ที่มีการติดตั้งระบบมัลติมีเดียเข้าไปด้วย เรียกกันโดยทั่วไปว่า “มัลติมีเดียพีซี” (Multimedia Personal
Computer: MPC) ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก 5 ส่วน ดังนี้

เครื่องพีซี (Personal Computer : PC)

เครื่องอ่านซีดีรอม (CD-Rom Drive)

ซาวนด์การ์ด (Sound Card หรือ Sound Board)

ลำโพงภายนอก (External Speaker)

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
  

เครื่องพีซี (Personal Computer :PC)

เครื่องพีซีถือเป็นหัวใจของระบบงานด้านมัลติมีเดีย โดยไมโครโพรเซสเซอร์ที่ใช้จะต้องมีประสิทธิภาพ
ในด้านความเร็วของสัญญาณนาฬิกา (Clock Speed) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นเครื่องที่ออกแบบมา
เพื่อใช้งานด้านมัลติมีเดียจะยิ่งมีประสิทธิภาพในการประมวลผลสัญญาณภาพ และเสียงดีกว่า
ไมโครโพรเซสเซอร์ทั่วๆ ไป เช่น ซีพียูตระกูล MMX ของ Intel เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องมีหน่วยความ
จำของเครื่อง (Ram) มากพอที่จะใช้เก็บไฟล์ภาพที่มีขนาดใหญ่ได้และติดตั้งแผงวงจรเร่งความาเร็วการ
ประมวลผลภาพกราฟฟิค (Graphic Accelerator Board) นอกจากนี้ ยังต้องมีโครงสร้างทาง
สถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับอุปกรณ์ต่อพ่วง (Peripheral Devices) ที่มีอัตราการสื่อสารข้อมูลที่
รวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพียงพอ ที่จะใช้จัดการเกี่ยวกับภาพและเสียงได้อย่างต่อเนื่องและราบรื่น
โดยไม่เกิดอาการกระตุกและมีสล็อตขยายที่แผงวงจรหลักเพียงพอสำหรับการต่อขยายระบบหรือ
อุปกรณ์สำหรับต่อพ่วงในอนาคต รวมทั้งมีหน่วยจัดเก็บข้อมูลสำรอง ซึ่งได้แก่ ฮาร์ดดิสก์หรืออุปกรณ์
ชนิดอื่นๆ ที่มีขนาดความจุสูงและยังต้องมีจอภาพสีและแผงวงจรควบคุมการแสดงผลจอภาพที่สามารถ
แสดงภาพที่มีความละเอียดสูง
เครื่องอ่านซีดีรอม (CD-ROM Drive)

เครื่องอ่านซีดีรองนับว่าเป็ฯส่วนประกอบที่สำคัญในการจัดเก็บข้อมูลและการนำเสนองานด้านมัลติมีเดีย
คุณสมบัติพื้นฐานของเครื่องซีดีรอมก็คือ ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล รวมทั้งอัตราการส่งถ่ายข้อมูลเพื่อ
อำนวยความสะดวกในการจัดการเกี่ยวกับภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการนำเสนอภาพเคลื่อนไหวที่ต้อง
แสดงผลของแต่ละภาพอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ปรากฎอาการภาพสะดุดหรือกระตุกที่เกิดจากการที่เครื่อง
คอมพิวเตอร์ดึงข้อมูลภาพจากหน่วยจัดเก็บข้อมูลช้ากว่าการแสดงภาพ การเลือกใช้เครื่องอ่านซีดีรอม
จะพิจารณาจากจำนวนเท่าในการอ่านข้อมูล เช่น 52 เท่าหรือ 52x ซึ่งหมายถึงอัตราการส่งถ่ายข้อมูล
ทีได้จากการอ่านซีดีรอมนั่นเอง แผ่นซีดีรอมขนาด 5.25 นิ้วแต่ละแผ่นจะสามารถบันทึกข้อมูลได้ถึง
700 MB(โดยประมาณ) หรือบันทึกสัญญาณเสียงได้นานประมาณ 80 นาที แต่ถ้าเป็นแผ่นซีดีรอม
ขนาดเล็ก 8 ซม. จะสามารถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 185 MB หรือบันทึกสัญญาณเสียงได้นาน
21 นาทีดั


ปัจจุบันได้มีการผลิตเครื่องอ่านซีดีรอม โดยใช้เทคโนโลยีดีวีดี (DVD ย่อมาจาก Digital Video Disc)
ทำให้แผ่นดีวีดีรอมแต่ละแผ่นสามารถบันทึกข้อมูลแบบความจุสูง(high Density) ได้ถึง 9.4 GB
จุดเด่นของเครื่องอ่านดีวีดีรอมก็คือ สามารถอ่านข้อมูลจากทั้งแผ่นดีวีดีแผ่นซีดีปกติได้ ในขณะที่เครื่อง
อ่านซีดีรอมไม่สามารถอ่านข้อมูลจากแผ่นดีวีดีรอมได้ และพัฒนาการของเครื่องอ่านดีวีดีรอมยังคงมีการ
เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันมีการผลิตเครื่องอ่านแบบคู่ที่มีศักยภาพรองรับการอ่านและการ
เขียนแผ่นซีดีและดีวีดีภายในเครื่องเดียว ซึ่งอำนวยความสะดวกในการทำงานมากยิ่งขึ้น

ซาวนด์การ์ด (Sound Card หรือ Sound Board)

ซาวนด์การ์ด (Sound Card หรือ Sound Board) หรือแผงวงจรเสียงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอีกส่วน
หนึ่งของมัลติมีเดียพีวี มีหน้าที่หลักในการเก็บบันทึกเสียง และแสดงผลเสียงจากโปรแกรมสำหรับงาน
ด้านมัลติมีเดียโดยสามารถทำการบันทึกเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ เช่น ไมโครโฟน เครื่องดนตรี
หรือแหล่งกำเนิดเสียงอื่นๆ จากนั้นจะทำการแปลงสัญญาณให้อยู่ในรูปแบบของดิจิตอล ซึ่งสามารถ
เก็บไฟล์เสียงไว้ในหน่วยจัดเก็บข้อมูลสำรอง โดยสัญญาณดิจิตอลจากไฟล์เสียงเหล่านี้จะส่งกลับไป
ยังซาวนด์การ์ด เพื่อแปลงสัญญาณให้เป็นแบบอนาล็อก ทำให้สามารถได้ยินเสียงจากไฟล์ที่ทำการนำ
เข้าหรือบันทึกนั้นได้ด้วยอุปกรณ์แสดงผลทางเสียง เช่น ลำโพง หูฟัง
ลำโพงภายนอก (External Speaker)

ลำโพงภายนอก (External Speaker) เป็นส่วนสำคัญที่สนับสนุนให้มัลติมีเดียคอมพิวเตอร์สามารถเล่น
เสียงระดับไฮไฟที่มีคุณภาพได้ นอกจากความสามารถในการจัดการด้านเสียงของซาวนด์การ์ดแล้ว
ปัจจุบันได้มีผู้ผลิตลำโพงภายนอกที่มีขีดความสามารถที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังเพิ่มคุณภาพในหลาย
ระดับด้วยกัน เช่น ระดับธรรมดา ระดับคุณภาพสูงที่ประกอบด้วยทั้งลำโพงเสียงแหลม ลำโพงเสียงกลาง
และลำโพงเสียงทุ้ม เป็นต้น คล้ายกับระบบเครื่องเสียงชั้นดีทั่วไป ลำโพงภายนอกจึงจัดว่าเป็น
ส่วนประกอบพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับมัลติมีเดียพีซีเนื่องจากการถ่ายทอดเสียงที่ชัดเจนและต้องครอบ
คลุมย่านความถี่เสียงได้หลากหลาย จนกลายเป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบมัลติมีเดียในยุคปัจจุบัน
ที่ขาดไม่ได้


ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)


ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับจัดการด้านมัลติมีเดีย ภายใต้โปรแกรมระบบปฏิบัติการ
ที่ทำงานสัมพันธ์กับเครื่องพีซีและอุปกรณ์ประกอบ สามารถจำแนกซอฟต์แวร์ประยุกต์ตามลักษณะงาน
ได้ 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ 1)ซอฟต์แวร์ประยุกต์ประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย (Application
Software for Multimedia Computer Assisted Instruction) เช่น Icon Author, Toolbook
และ Macromedia Authorware เป็นต้น ซึ่งโปรแกรมนี้สามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า
โปรแกรมระบบสร้างสื่อการสอน 2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ประเภทนำเสนองานมัลติมีเดีย (Application
Software for Multimedia Presentation) เช่น Macromedia Director MX, Shockwave และ
Macromedia Flash MX เป็นต้น


สำหรับองค์ประกอบทั้ง 5 ส่วนของมัลติมีเดียพีซีตามที่ได้มาข้างต้น นับได้ว่าเป็นส่วนประกอบขั้น
พื้นฐานของมัลติมีเดียพีซีที่สนับสนุนการใช้งานด้านมัลติมีเดียทั่วไป หากต้องการพัฒนางานมัลติมีเดีย
เฉพาะทาง เช่น ทำวีดีโอจำเป็นต้องขยายขีดความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยอุปกรณ์ต่อพ่วง
พิเศษ เช่น ติดตั้งแผงวงจรจัดการเกี่ยวกับภาพเคลื่อนไหว (Video Capture Board) ติดตั้งเครื่อง
บันทึกและเล่นภาพวิดีโอ (Video Tape Recorder) เป็นต้น